อยู่ก่อนเข้าตัวเมือง เป็นโบราณสถานเล็ก ๆ ริมถนนสายนิตโย ถนนเส้นทางหลวงหมายเลข 22 ใกล้กิโลเมตรที่ 161 เส้นสกลนคร–อุดรธานี ประวัติความเป็นมา สะพานหินถือเป็นโบราณสถานและขึ้นทะเบียนกรมศิลปากรไว้เมื่อ พ.ศ. 2478 ในสมัยนั้นสะพานหินกว้าง 4 เมตร ยาว 16 เมตร สาเหตุที่กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเพราะมีคนเรียกว่า “สะพานขอม” ต่อมานายกเทศมนตรีท่านหนึ่ง (นายกเทศมนตรีคนที่ 2 ของจังหวัดสกลนคร) พิจารณาเห็นว่าสะพานหินอยู่ขวางเส้นทางถนนทำให้ถนนคดโค้ง เพราะต้องหลบสะพานหินจึงได้ใช้หินลูกรังกลบทับสะพานหิน ซึ่งเป็นก้อนหินธรรมชาติขนาดใหญ่นั้นทิ้งหมด แต่ยังไม่ทันสร้างถนนตัดผ่านสะพานหินแต่อย่างใด ครั้นเมื่อหมดสมัยนายกเทศมนตรีผู้นั้นแล้ว นายกเทศมนตรีคนใหม่ก็เข้ามาดำเนินการขุดเอาดินลูกรังออก และเห็นว่าสะพานของเดิมชำรุดมากจึงของบประมาณกรมศิลปากรมาสร้างใหม่แทนของเดิม โดยใช้ก้อนหินศิลาแลงมาก่อให้เป็นรูปสะพาน มีบันไดขึ้นลง 3 ขั้น ลักษณะทั่วไป โดยความเป็นจริงแล้วสะพานหินของดั้งเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับการสร้างในคติขอมแต่อย่างใด เพียงทำเป็นสะพานเพื่อให้กระแสน้ำจากหนองสนม ซึ่งรับน้ำจากภูพานไหลผ่านลงหนองหานเท่านั้น ในช่วงนั้นอาจใช้สะพานเป็นทางเดินผ่านออกจากตัวเมืองสกลนครไปยังนอกเมือง ทั้งนี้เพราะที่ตั้งของเมืองสกลนครเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมขังง่าย การทำสะพานจึงมีความจำเป็นสำหรับการสัญจรของผู้คน บริเวณสะพานจะมีสถานพักผ่อนของชาวสกลนครเรียกว่า “ลานร่วมน้ำใจ” เป็นจุดที่สามารถชมสะพานหิน ชมประตูเมืองสกลนครซึ่งประดิษฐานรูปหล่อของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร และหลวงพ่อพระองค์แสนซึ่งมีความงดงามยิ่ง และเป็นที่ที่สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ เสด็จมากราบสักการะทุกครั้งที่ทรงแปรพระราชฐานมายังพระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ เส้นทางเข้าสู่สะพานหิน สะพานหินอยู่ริมถนนนิตโย ซึ่งเป็นถนนสายสกลนคร-อุดรธานี บริเวณปากทางเข้าออกตัวเมืองสกลนคร เมื่อเข้าตัวเมืองสกลนคร สะพานจะอยู่ด้านขวามือ แต่เมื่อออกจากตัวเมืองสกลนครสะพานจะอยู่ซ้ายมือ