ชาวบ้านและศิษยานุศิษย์ แห่ดูเลขเด็ดจากขันน้ำมนต์ในพิธีเททองหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง พระครูสีลสารคุณ หรือ “หลวงปู่ลุน บรมครูธรรมแห่งอีสาน” วัดโพนแพง บ.หนองแวง ต.กุดธาตุ อ.หนองนาคำ จ.ขอนแก่น
อาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 12.40 น.
เมื่อวันที่ 28 ก.พ. ที่วัดโพนแพง บ้านหนองแวง ต.กุดธาตุ อ.หนองนาคำ จ.ขอนแก่น ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศ พิธีเททองหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริง พระครูสีลสารคุณ (หลวงปู่ลุน) วัดโพนแพง เกจิอาจารย์ชื่อดัง ศิษย์สายสมเด็จลุน แห่งแขวงจำปาศักดิ์ องค์มหาฤาษีคำผงแห่งแขวงสุวรรณเขต โดยศิษยานุศิษย์ของ “หลวงปู่ลุน” เดินทางมาร่วมพิธีกันอย่างเนืองแน่นวัด ตามกำหนดการเริ่มจาก ประกอบพิธีบวงสรวงภูมิเทวนาสถานที่ พิธีถวายมุฑิตาจิต พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีปลุกเสกวัตถุมงคล และพิธีเททองหล่อรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงของหลวงปู่ลุน ขณะที่เหล่าบรรดาเซียนหวยและคอหวยต่างจดจ้องเลขเด็ดจากขันน้ำมนต์หลวงปู่ซึ่งพบว่า น้ำตาเทียนเรียงกันมีลักษณะคล้ายเลข 93, 95 และ 98
สำหรับประวัติของ “หลวงปู่ลุน” มีนามเดิมว่า คำพอง ราวงษ์ เกิดเมื่อวัน 28 กุมภาพันธ์ 2478 ที่ บ้านหนองแวง ต.กุดธาตุ (เดิม ต.บ้านโคก) อ.หนองนาคำ (เดิม อ.ภูเวียง) จ.ขอนแก่น บิดาชื่อนายจันทา ราวงษ์ มารดาชื่อ นางปัด ราวงษ์ โดยมีอาชีพเกษตรกรรม ในวัยเด็กหลวงปู่ได้ช่วยพ่อแม่ทำเกษตรกรรม จนอายุได้ 18 ปี จึงเข้าบรรพชาเป็นสามเณร ในปี 2496 กับหลวงปู่ทองคำ กตปุญโญ ที่วัดโพนแพง อ.หนองนาคำ จ.ขอนแก่น และเมื่อปี 2498 เข้าอุปสมบทที่วัดโพธยาวาส บ้านหัวนาหมอ ต.กุดธาตุ อ.หนองนาคำ จ.ขอนแก่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2498 โดยมีเจ้าอธิการปุ้ย สุมโน เป็นพระอุปัชฌาย์ พระไพบูลย์ ปณีโต วัดโพธยาวาส เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทองคำ กตปุญโญ วัดโพนแพง เป็นพระอนุสาวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า สีลคุโณ
“หลวงปู่ลุน” ออกธุดงค์เมื่อปี พ.ศ. 2500 ซึ่งในขณะนั้นบวชได้เพียง 2 พรรษา โดยเดินทางไปทางแถบ จ.หนองบัวลำภู จ.อุดรธานี ธุดงค์เข้าที่อำเภอชนบท ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ตาประขาว และธุดงค์ต่อ จ.สกลนคร จนถึง จ.นครพนม ข้ามไปที่ สปป.ลาว จนถึงสุวรรณเขต จาริกธุดงค์ไปศึกษาวิชาธรรมธาตุโลกุตตรัง วิชาว่านยาสมุนไพร และยอดวิชาธรรมต่างๆ สายวิชาขององค์สำเร็จลุน ที่หอพระคัมภีร์ วังเวินไซ แขวงจำปาศักดิ์ และได้ศึกษาสรรพวิชาอาคมการฝึกฝนจิตจากองค์มหาฤาษีคำผงแห่งสุวรรณเขต ธุดงค์ถึงภูเขาควาย ได้ฝากตัวเป็นศิษย์องค์สำเร็จแก้ว (สหธรรมมิกองค์สำเร็จลุน) และองค์สำเร็จหงษ์ ศึกษาวิชาพระเวทวิทยาคมจากอาจารย์ฆราวาสผู้เรืองวิชาในยุคนั้นหลายท่านจนแตกฉาน ได้รับขนานนามว่า “บรมครูธรรมแห่งอีสาน”
คุณเห็นด้วยกับข่าวนี้หรือไม่
-
เห็นด้วย
0%
-
ไม่เห็นด้วย
0%