จากกรณีนางไพมณี พลราชม อายุ 57 ปี แม่ค้าในเขตเทศบาลนครสกลนคร ได้เข้าแจ้งความว่าตนเองถูกลอตเตอรี่ รางวัลที่ 1 เลขรางวัลที่ ตรงกับ 835538 งวดวันที่ 1 มี.ค.2564 ซึ่งลอตเตอรี่อยู่กับคนขาย โดยได้จองเอาไว้ แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินเพียงแต่เขียนชื่อสลักไว้ หลังหวยออกและถูกรางวัลคนขายได้บอกว่าได้ขายลอตเตอรี่ใบดังกล่าวไป ล่าสุดนางไพมณีได้เข้าแจ้งความกับ เจ้าหน้าที่ตำรวจสภ.เมืองสกลนคร ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น
ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 7 มี.ค. ผู้สื่อข่าวได้ไปหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการซื้อขายที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจําวัน ของบุคคลทั่วไป โดยกฎหมายกําหนดสาระสําคัญไว้หลายประการ โดยให้นําเอาหลักเกณฑ์ทั่วไปของการทํานิติกรรม โดยเฉพาะ เรื่องของการแสดงเจตนา วัตถุประสงค์ของคู่สัญญา และแบบแห่งนิติกรรมมาใช้ จึงถือได้ว่าสัญญาซื้อขายเป็นเอกเทศสัญญาแบบหนึ่ง
1. สัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขาย หมายถึง สัญญาที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ขาย ตกลงโอนกรรมสิทธิ์ แห่งทรัพย์สิน ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงจะใช้ราคาทรัพย์สินให้แก่ ผู้ขาย หรือกล่าวโดยสรุป คือ เมื่อผู้ขายตกลงโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นให้แก่ ผู้ซื้อ สัญญาซื้อขายย่อมเกิดขึ้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวตกเป็นของผู้ซื้อทันที แม้ว่าผู้ซื้อยังไม่ชําระราคาก็ไม่ใช่สาระสําคัญของ สัญญาซื้อขาย อย่างไรก็ตามสัญญาซื้อขายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.1 สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
หมายถึง สัญญาซื้อขายที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายกัน ตกเป็นของผู้ซื้อทัน ที่สัญญา ซื้อขายเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์ โดยไม่ต้องคํานึงว่าผู้ซื้อชําระราคาแล้วหรือไม่
เช่น แดงตกลงขายชุดสากล สําเร็จรูปให้ดําในราคา 3,000 บาท โดยพับใส่ถุงยื่นให้ ดังนี้ถือว่าการซื้อขายชุดสากลระหว่างแดงกับดํา สมบูรณ์แล้ว กรรมสิทธิ์ในชุดสากลชุดนั้นตกเป็นของดําทันที ไม่ต้องคํานึงว่า ดําชําระเงินให้แดงแล้ว หรือไม่
จากหลักกฎหมายดังกล่าว สรุปสาระสําคัญของสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดได้ดังนี้ 1.1.1 การโอนกรรมสิทธิ์
1) ถ้าทรัพย์ที่ซื้อขายกันนั้น ยังจะต้องหมาย นับ ชั่ง ตวง วัด คัดเลือก หรือทําด้วยวิธี อื่นใด ให้ระบุตัวทรัพย์นั้นได้แล้ว กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้กระทําการเช่นว่านั้นเสียก่อน เช่น แมวขายเสื้อให้หนูราคา 3 ตัว 500 บาท โดยให้หนูเลือกเอาตามใจชอบ ดังนี้ กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของหนู จนกว่าหนูจะเลือกเสื้อได้ครบ 3 ตัวเสียก่อน
2) ถ้าทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้น ยังจะต้อง นับ ชั่ง ตวง วัด คัดเลือก เพื่อให้ทราบราคา กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้กระทําการเช่นว่านั้นแล้ว เช่น เสือขายไข่
1 กระจาดให้ช้างคิดราคา ฟองละ 3 บาท ดังนี้ กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของช้าง จนกว่าจะได้นับ จํานวนไข่ทั้งกระจาดและคํานวณ จนทราบราคาแท้จริงเสียก่อน
การที่ต้องพิจารณาว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตกไปเป็นของผู้ซื้อแล้วหรือไม่นั้นเป็น
สาระสําคัญ เพราะถ้ากรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปเป็นของผู้ซื้อ หากเกิดการเสียหายขึ้นแก่ทรัพย์สินนั้นโดยมิใช่ ความผิดของผู้ซื้อ ผู้ซื้อก็ไม่ต้องใช้ราคาให้แก่ผู้ขาย แต่ถ้ากรรมสิทธิ์โอนไปเป็นของผู้ซื้อแล้ว แม้ ความเสียหายเช่นว่านั้นจะเกิดขึ้นจากบุคคลอื่นผู้ซื้อก็ต้องชําระราคาให้แก่ผู้ขาย
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนี้ หากเป็นการซื้อขายทรัพย์สินบางประเภทกฎหมายกําหนด ให้ต้องทําตามแบบและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การซื้อขายที่ดินมีโฉนด หรือที่ดินที่มีใบไต่สวน หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น ต้องทําเป็นหนังสือตามแบบของกรมที่ดิน และจดทะเบียน ณ สํานักงานที่ดินจังหวัด หรือสํานักงานที่ดินสาขาในท้องที่ๆ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ แต่ถ้าเป็นที่ดินไม่มีโฉนด หรือไม่มีใบไต่สวน ไม่ว่าจะมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตามให้จดทะเบียน ณ ที่ทําการเขต (อําเภอ) ท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ หรือการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ที่มีราคากว่า 20,000 บาทขึ้นไป จะต้องมีหลักฐาน เป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดไว้เป็นสําคัญหรือต้องมีการวางมัดจําไว้ หรือได้ชําระหนี้บางส่วนแล้ว จึงฟ้องร้องบังคับคดีกันได้
1.1.2 หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อและผู้ขาย สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดนั้น กฎหมายกําหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ซื้อ และผู้ขายไว้ดังนี้
1) หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ขาย เมื่อสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดเกิดขึ้นแล้ว หน้าที่ประการแรกของผู้ขาย คือ การส่งมอบทรัพย์สินที่ซื้อขายกันนั้นให้ผู้ซื้อ เพราะเหตุว่ากรรมสิทธิ์ได้โอนไปยังผู้ซื้อแล้ว แต่ในทางปฏิบัติ การส่งมอบอาจกระทําภายหลังก็ได้ เช่น ปูซื้อตู้เย็นขนาด 6 คิว 1 ประตูจากร้านของปลาและชําระราคาให้ปลา แล้ว จํานวน 12,000 บาท ซึ่งตามหลักกฎหมายแล้ว กรรมสิทธิ์ย่อมตกเป็นของปทันทีและปลามีหน้าที่ ต้องส่งมอบให้ปทันทีเช่นกัน แต่จากลักษณะของทรัพย์อาจไม่สะดวกที่จะส่งมอบในขณะนั้น ปูและปลา อาจตกลงกันให้มีการส่งมอบในวันต่อมาก็ได้
ขณะเดียวกันผู้ขายก็ยังต้องรับผิดชอบต่อผู้ซื้อในเรื่องของ ความชํารุดบกพร่องของสินค้าที่ซื้อขายกันนั้นด้วย เช่น เอกซื้อโทรทัศน์จากร้านของโท ซึ่งตามสมรรถนะ ของโทรทัศน์รุ่นนี้รับได้ 200 ช่องสัญญาณ แต่เมื่อใช้งานจริงปรากฏว่ารับได้เพียง 20 ช่องสัญญาณเท่านั้น ดังนี้ โทต้องรับผิดชอบต่อเอก เพราะสินค้าที่ซื้อขายกันไม่สมประโยชน์แก่ผู้ซื้อในการใช้งานตามปกติ ไม่ว่าผู้ขายจะรู้อยู่ก่อนแล้วหรือไม่รู้เลยว่าความบกพร่องนั้นมีอยู่ก็ตาม เว้นแต่ว่าความเสียหายเช่นว่านี้ ผู้ซื้อเห็นประจักษ์อย่างชัดแจ้งตั้งแต่ขณะซื้อหรือขณะส่งมอบ เช่น ผู้ขายประทับตราข้อความไว้ที่กล่อง แล้วขณะซื้อขายว่า “สินค้ามีตําหนิราคาพิเศษ ไม่รับเปลี่ยนหรือคืน” และผู้ซื้อก็รับสินค้าไว้โดยมิได้คิดเอื้อน
2) หน้าที่ของผู้ซื้อ สําหรับผู้ซื้อ กฎหมายกําหนดให้มีหน้าที่เพียงประการเดียว คือ ต้องชําระราคาให้ แก่ผู้ขาย ส่วนจะต้องชําระราคาเมื่อใดนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างกัน อาจชําระทันทีที่ตกลงซื้อขายหรือ ชําระในเวลาถัดมาหรือผ่อนชําระเป็นงวดๆ ก็ได้
1.2 สัญญาจะซื้อจะขาย
สัญญาจะซื้อจะขาย หมายถึง สัญญาซื้อขายชนิดที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อขายยังไม่โอน ไปเป็นของผู้ซื้อในขณะนั้น คงมีผลแต่เพียงว่าจะมีการโอนกรรมสิทธิ์กันอีกครั้งหนึ่งในภายหน้า เช่น แมว ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการหมู่บ้านจัดสรร ทําสัญญาจะขายบ้านพร้อมที่ดินให้หมู โดยกําหนดวันโอนกรรมสิทธิ์ ณ สํานักงานที่ดิน เมื่อหมูชําระเงินให้แก่แมวครบถ้วนแล้ว ดังนี้ กรรมสิทธิ์ในบ้านพร้อมที่ดินดังกล่าว ให้ต้องทําตามแบบและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เช่น การซื้อขายที่ดินมีโฉนด หรือที่ดินที่มี ใบไต่สวน หรือที่ดินและสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินนั้น ต้องทําเป็นหนังสือตามแบบของกรมที่ดินและจดทะเบียน ณ สํานักงานที่ดินจังหวัด หรือสํานักงานที่ดินสาขาในท้องที่ๆ ที่ดินนั้นตั้งอยู่ แต่ถ้าเป็นที่ดินไม่มีโฉนด หรือไม่มีใบไต่สวน ไม่ว่าจะมีสิ่งปลูกสร้างอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม ให้จดทะเบียน ณ ที่ทําการเขต (อําเภอ) ท้องที่ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ทำไง!สลากฯที่เขียนชื่อจองไว้ถูก12ล. แม่ค้าโบ้ยขายไปแล้ว.